วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 5

การออกแบบการเรียนการสอน


ความหมายของการออกแบบการสอน (Instructional Design)
           การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด หลักการออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นสิ่งแนะนำ แนวทางสำ หรับครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบการสอน (Instructional Designer)ให้ประสบผล สำเร็จในการออกแบบ และรู้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย และสร้างเสริมประสบการณ์ ในการออกแบบการสอน (Instructional Design) เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ    การออกแบบการสอน (Instructional Design)  เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล ทั้งกระบวนการ และหลักการดังกล่าวมาเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการสอน ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้    การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ   ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ   (efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (system) มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการในการทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ระบบการเรียนการสอน (Instructional System) คือ การจัดองค์ประกอบ ทรัพยากร และกระบวนการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้หรือพัฒนาผู้เรียนการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design : ISD) คือ กระบวนการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ มีทฤษฎีทางการเรียนรู้และจิตวิทยาการศึกษาแนวทาง เพื่อให้ได้ระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพระบบการเรียนการสอน เกี่ยวข้องกับประเด็นหลัก ๆ คือ การออกแบบระบบการเรียนการสอน, การจัการเรียนการสอน, บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง (ผู้เรียน,ผู้สอน,ผู้สนับสนุนการเรียน), การสนับสนุนการเรียนเรียนการสอน และระบบจัดการการเรียนรู้ (LMS - Learning Management System)

การออกแบบระบบการเรียนการสอน หรือ ISD Model มีผู้ออกแบบไว้หลายรูปแบบ เช่นReiser and Dick, Gerlarch and Ely, Kemp, Seels and Glasgow, Smith and Ragen,Lesshin-Pollock and Reigeluth, Dick and Carey และ IDIระบบการเรียนการสอนทุกระบบส่วนใหญ่ มีกรอบการออกแบบไว้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนหลัก คือการวิเคราะห์ (Analysis)  การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Developmetn) การนำไปใช้ (Imprementation) และการติดตามประเมินผล (Evaluation)  ซึ่งเรียกว่า ADDIE Model
ความหมายของระบบ มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า “ระบบ” (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968) หรือ วอง (Wong, 1971)

                บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า “ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”   ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่ โดยวองให้ความหมายของระบบวา “ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
องค์ประกอบองค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

ลักษณะของระบบที่ดี   ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีความยั่งยืน    (sustainable) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือมี
1. ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact  with  environment)
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้ เรียกว่า “สิ่งแวดล้อม” การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต   (outputs) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่งมีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์    ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า “เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ดีที่สุด” จุดมุ่งหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง ลองดูตัวอย่างอีกตัวอย่าง คือ ระบบของรถยนต์โดยสารส่วนตัว ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ เป็นยานพาหนะที่อำนวยความสะดวกสบายแก่มนุษย์ในเรื่องของความรวดเร็ว การทุ่นแรงสามารถรักษาสภาพตัวเองได้    ลักษณะที่สามของระบบ คือ  การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวมันเองให้อยู่ในลักษณะที่มั่นคงอยู่เสมอ การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและอาท์พุทกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบ หรือระบบย่อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ หรือระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ฯลฯระบบการย่อยอาหารของคน ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ (ระบบย่อย) หลายองค์ประกอบด้วยกัน การที่ระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้ดี และรักษาสภาพการย่อยอาหารให้ทำงานได้สมบูรณ์ตลอดไปนั้น องค์ประกอบต่าง ๆ ต้องทำงานตามหน้าที่ของมัน และต้องทำงานให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกด้วย เฉพาะการทำงานของปาก ลิ้น และฟันจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างดี ในขณะเคี้ยวอาหาร การที่ฟันไม่เคี้ยวลิ้นในขณะเคี้ยวอาหารนั้นก็เกิดจาการทำงานประสานอย่างดีนั่นเองการปรับและแก้ไขตนเอง  ลักษณะที่ดีของระบบ  คือ มีการแก้ไขและปรับตัวเอง  ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง (Self – regulation) ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม) อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้ ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี ร่างกายก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้น โดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด  ในขณะที่ระบบสร้างผลผลิต (Output) ส่งออกไปสู่สิ่งแวดล้อม (environment) นั้นระบบก็จะนำเอาผลผลิตส่วนหนึ่งมาตรวจสอบโดยการป้อนเข้าที่ส่วนนำเข้า (input) ใหม่ ลักษณะนี้เรียกว่า การป้อนกลับ (feed back)การรักษาสภาพตัวเอง  และการแก้ไขปรับแต่งตนเองนี้ เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของระบบ เพราะจำทำให้ระบบมีลักษณะเป็นวงจรไม่ใช่เส้นตรงองค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน  ดังได้กล่าวข้างต้นว่า  การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ  ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้  และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่  กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)  จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)เนื่องจากมีรูปแบบ (Model)   สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)
 รูปแบบดั้งเดิม  (Generic model)
การวิเคราะห์  (Analysis)
การออกแบบ  (Design)
การพัฒนา  (Development)
การนำไปใช้  (Implementation)
การประเมินผล  (Evaluation)
จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ตามความเชื่อความต้องการของตนรูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน   ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้คิดสร้างขึ้นเพื่อให้เห็นองค์ประกอบ  รายละเอียดโดยสังเขปและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆรูปแบบการสอนของดิคค์และคาเรย์  (Dick  and Carey  model)
          

      รูปแบบการสอน (Model)  ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ
1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify  Instructional  Goals)
2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน  (Conduct  Instructional Analysis)
3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน  (Identify  Entry  Behaviors,  Characteristics)
4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม   (Write  Performance  Objective)
5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์   (Develop  Criterion - Referenced  Test  Items)
6. พัฒนายุทธวิธีการสอน  (Develop Instructional  Strategies)
7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน  (Develop  and  Select  Instructional  Materials)
8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง   (Design  and  Conduct  Formative  Evaluation)
9. การปรับปรุงการสอน   (Revise  Instruction)
10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน   (Design  and  Conduct  Summative  E valuation)
ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger  lach  and  Ely  Model)
          

      เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ  10 อย่างด้วยกันคือการกำหนด  เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน  อย่างไรการกำหนดเนื้อหา  (Specify  Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze  Learner  Background  Knowledge) เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนเลือกวิธีสอน (Select  Teaching  Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายกำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine  Group  Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไรกำหนดเวลา  (Time  Allocation)  กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใดกำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify  Setting  and  Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน  ต้องเตรียมอะไรบ้างเลือกแหล่งวิชาการ (Select  Learning  Resources)  ต้องใช้สื่ออะไร  อย่างไรประเมินผล  (Evaluation)  ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze  Feedback  for  Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะทำการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไรจากตัวอย่างรูปแบบระบบการสอนที่ยกมาจะเห็นว่าจะอยู่ในกรอบของรูปแบบดังเดิม (Generic model) ทั้งสิ้นการออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
การออกแบบการสอนเป็นวิธีการระบบ   เพื่อการวิเคราะห์, การออกแบบ, การพัฒนา, การดำเนินการให้เป็นผล และการประเมินผลของสารปัจจัย และกิจกรรมการเรียน   การออกแบบการสอนมุ่งหมายเพื่อวิธีการสอนที่ยึดถือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มากกว่าวิธีการที่ยึดถือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  จนกระทั่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้นี่หมายความว่าจะต้องควบคุมกำกับการองค์ประกอบการสอนทุกชนิดด้วยผลลัพธ์ทางการเรียนซึ่งได้รับการวินิจฉัยภายหลังการวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น)ของผู้เรียน อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์   ขั้นตอนเหล่านี้บางครั้งก็เหลื่อมซ้อนกันและสามารถทำให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้จะให้แนวทางอย่างเป็นพลวัตและมีความยืดหยุ่นสำหรับการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แบบจำลอง ADDIE

เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่  ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป ที่ขั้นตอนก่อนหน้า   ผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆ    เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป
การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE
(Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model)การวิเคราะห์(Analysis)

            ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ   ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา   และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้  ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ  เช่น   การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ   ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal),  และรายการภารกิจที่จะสอน  ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป การออกแบบ (Design)    ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน  ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอนองค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย, การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน, การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบ, เลือกระบบการนำส่ง และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไปการพัฒนา (Development)

          ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)

                ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้ การประเมินผล (Evaluation)                ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน  การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ  และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว   การประเมินผล  อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)  การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation):           ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆจุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ  เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล
 การประเมินผลรวม (Summative evaluation):

       โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว  การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน  (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไป
บทสรุปการออกแบบการเรียนการสอน เป็นกระบวนการและกลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการบทเรียน เพื่อแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการเรียนการสอน นักการศึกษาได้คิด ค้น รูปแบบการสอนขึ้นมาหลายรูปแบบ แม้ว่ารูปแบบการสอนเหล่านั้นจะแตกต่างกันบ้างในส่วนของรายละเอียดแต่หลักการและแนวความคิดในการออกแบบ จะไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนั้น จึงสามารถใช้รูป แบบการสอนเหล่านั้นในการพัฒนาบทเรียนได้ทั้งระบบการสอน บทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น CAI/CBT, WBI/WBT หรือ e-Learningรวมทั้งบทเรียนอื่น ๆ ที่นำเสนอโดยใช้คอมพิวเตอร์ อาจกล่าวได้ว่ารูปแบบการสอนเหล่านั้นประยุกต์มาจากขั้นตอนของวิธีการระบบ (System Approach) ซึ่งเรามีต้น ด้วยการวิเคราะห์เป็น ขั้นตอนแรก ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ผู้เรียน และวิเคราะห์ข้อมูลอื่น ๆ ขั้นตอนนี้ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่จะส่ง ผลไปยังขั้นตอนอื่น ๆ เนื่องจากทุกขั้นตอนจะมีความสัมพันธ์กัน และส่งผลซึ่งกันและกัน สำหรับ ขั้นตอนที่สองเป็น การออกแบบบทเรียน ได้แก่ เขียนวัตถุประสงค์วางแผนการเรียนการสอน ออกแบบทดสอบ และส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ก่อนที่จะนำไปสร้างเป็นบทเรียนในขั้นตอนที่สาม ส่วนขั้นตอนที่สี่ เป็นการนำบทเรียนหรือระบบการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้นจะเป็น การประเมนิ ผลบทเรียนในขั้นตอนสุด ท้าย ซึ่งขั้นตอนนี้จะส่งผลย้อนกลับไปยังทุกขั้นตอนที่ผ่านมา หากบทเรียน หรือระบบการสอนที่ได้ไม่มีคุณภาพ จะต้องกลับไปปรับเปลี่ยนแก้ไขในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องใหม่ให้มีความสมบูรณ์ขึ้น

*********************************************************************************

ที่มา
http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/index.php?http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-   web1/ADDIE/addie.htmhttp://sirichaiyru.multiply.com/journal/item/3/3